SEARCH    
 
   - A   + A
พบกับทิป และทริก(Tips and trick) สำหรับการออกแบบเซ็บไซต์ ด้วย for เว้บไซต์สำเร็จรูป-ninenic.com
www.tips.ninenic.com
HOME เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา
 
| การติดตั้ง Code DBD |


การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


การให้เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered)

        เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือย่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเขตที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำหรับภูมิภาค สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล โดยเว็บไซต์ที่จดทะเบียนแล้ว จะปรากฎเครื่องหมาย Registered อยู่บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสถานะและการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการ และรายชื่อผู้ประกอบการทั้งหมดจะรวบรวมอยู่ในฐานข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.trustmarkthai.com
 คู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ประกอบพาณิชยกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการขอใช้เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  
 คำแนะนำการจดทะเบียน

* การให้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified)
เพื่อรับรองมาตรฐานการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ประกอบการสามารถขอเครื่องหมายฯ ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.trustmarkthai.com โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการที่จะได้รับเครื่องหมายฯ จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวได้อ้างอิงจากมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้เป็นสากล และยอมรับอย่างแพร่หลาย
ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ www.trustmarkthai.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=2868
 


ขั้นตอนการสมัคร
 
1. สมาชิกเพื่อขอเครื่องหมาย
กรอกแบบฟอร์ม Username Password เพื่อเข้าใช้งานระบบ คลิ๊ก
 
2. ขอเครื่องหมาย
ใช้เว็บไซต์ที่ลงทะเบียนแล้วขอเครื่องหมาย DBD Registered รายละเอียด
 
3. ขอเครื่องหมาย
ต้องเป็นเว็บไซต์ที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นการขอเครื่องหมาย DBD Verified รายละเอียด

 วิธีการติดตั้ง Code DBD กับเว็บไซต์สำเร็จรูป ninenic.com  คลิ๊ก

คำชี้แจงการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 1. กิจการค้าที่เป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553
        ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่ถือว่าเป็นการ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
        1. การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
        2. การบริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP)
        3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)
        4. การบริการตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ (E-Marketplace)
 

 2. ผู้ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
 
        ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้น ต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์
        1. บุคคลธรรมดา
        2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล กิจการร่วมค้า
        3. นิติบุคคลที่มิได้จดทะเบียนในประเทศไทยที่เข้ามาเปิดสำนักงานสาขาในประเทศไทย
        4. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
        5. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
        6. บริษัทจำกัด
        7. บริษัทมหาชนจำกัด
 

3. สถานที่จดทะเบียน
 
        สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ และถ้าสำนักงานแห่งใหญ่ของผู้ประกอบพาณิชกิจตั้งอยู่ ในต่างประเทศ และมาตั้งสำนักงานสาขาเพื่อประกอบกิจการดังกล่าวในประเทศไทย สำนักงานสาขาแห่งใหญ่ ตั้งในเขตท้องที่รับผิดชอบของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ใด ก็ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ในเขตท้องที่นั้น 

 4. การยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
        การยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งตั้งใหม่ เปลี่ยนแปลงและเลิกประกอบพาณิชยกิจ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป

5. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน
 
        การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นการจดทะเบียนพาณิชย์ประเภทหนึ่งใช้แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.) และเอกสารประกอบ เช่นเดียวกับ   การจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วไป กรณีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีเอกสารประกอบคำขอเพิ่มเติม คือ
       - รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ แบบ ทพ.) โดยผู้ประกอบการที่มีเว็บไซต์มากกว่า 1 เว็บไซต์ จะต้องกรอกเอกสารแนบ แบบ ทพ. แยกแต่ละเว็บไซต์       (1 เว็บไซต์ : เอกสารแนบ แบบ ทพ. 1 ชุด)
          - เอกสารการจดโดเมนเนม ที่แสดงว่าผู้ประกอบพาณิชยกิจตาม 2 เป็นเจ้าของโดเมนเนม

6. การรายงานการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
        เมื่อมีการรับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ให้สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา สำนักงานทะเบียน          พาณิชย์เทศบาล และสำนักงานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนตำบล รายงานการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกวันที่มีการรับจดทะเบียนตามช่อง    ทางe-mail : e-commerce@dbd.go.th หรือโทรสารหมายเลข 0 2547 5973 ประกอบด้วย
          (1) แบบรายงานการจดทะเบียนพาณิชย์-พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          (2) เอกสารแนบแบบ ทพ.
 
 

 7. ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
 
        1. มีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า e-mail หรืออื่น ๆ
        2. มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash เป็นต้น
        3. มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ)
        4. มีวัตถุที่ประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น
        5. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ หรือเพียงโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ (ถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต)
        6. เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน)
        7. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การ Download เพลงโปรแกรม เกมส์ Ringtone Screensaver SMS เป็นต้น
 
8. ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
        1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้าของตนเอง แต่ทำการค้าในช่องทางปกติ (ไม่ใช่อินเทอร์เน็ต) แม้จะมีข้อความแจ้งว่าให้ติดต่อได้ เช่น สนใจโทร.ติดต่อ… หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ….
        2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยลักษณะของการโฆษณานั้นไม่ใช่วัตถุที่ประสงค์หลักของกิจการและไม่ใช่ช่องทางค้าปกติ แม้จะมี banner ของผู้อื่นมาติดและมีรายได้จาก banner ก็ตาม
        3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือบริการ เช่น เพื่อการสอน ประกาศรับสมัครงาน
        4. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท หรือสินค้า
        5. เว็บไซต์ส่วนตัว (ส่วนบุคคล) ที่สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว การงาน การศึกษา หรือความสนใจส่วนตัว
        6. เว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยไม่มีการเสียค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ
 
 
9. คำอธิบายเพิ่มเติม
 
        บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
        ก. กรณีนี้ ไม่ได้หมายความถึง ร้านบริการอินเทอร์เน็ต หรือ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการในการเล่นอินเทอร์เน็ตหรือเกมส์คอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาณิชย์ (แบบธรรมดา)
        ข. บริการอินเทอร์เน็ต ในที่นี้หมายถึง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ หน่วยงานที่บริการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กล่าวคือ ให้บริการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งโดยปกติในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เราจะต้องมีการเชื่อมต่อสัญญาณกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน โดยเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม(สายโทรศัพท์) หรือ เชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์ (สายเคเบิล หรือ DSL)
 
        ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) คือ ผู้ให้บริการเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่ในการรับฝากเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถออนไลน์ หรือมองเห็นบนอินเทอร์เน็ตได้ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตจะต้องได้รับการฝาก หรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์พิเศษที่เรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ซึ่งเซิร์ฟเวอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกแห่งทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง (ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
   
    ดังนั้น ในการทำเว็บไซต์ เพื่อให้ออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตได้ สิ่งแรกที่ต้องมีคือ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีราคาและค่าใช้จ่ายในการดูแล ค่อนข้างสูง ซึ่งหากเป็นหน่วยงานหรือองค์กรใหญ่ ๆ มักจะมีเครื่อง Server เป็นของตนเอง แต่ผู้ประกอบการรายย่อยหรือบุคคลทั่วไป มักจะนำเว็บไซต์ของตนไปฝากไว้กับเครื่อง Serverของผู้อื่น ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดยผู้ให้บริการเครื่อง Server จะคิดค่าใช้จ่ายตามพื้นที่ (ขนาดของเว็บไซต์) ที่แบ่งให้เช่า
   
    สรุป ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือ เว็บโฮสติ้ง ก็คือ ผู้ให้บริการในการเช่าพื้นที่ของเครื่อง Server นั่นเอง
บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( หรือ e-Marketplace) คือ เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสินค้าและร้านค้าเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกันโดยรูปแบบของ E-Marketplace จะเป็นการบริการในรูปแบบของเว็บไซต์ ที่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไป post ซื้อขายสินค้า หรือ ให้บริการหน้าเว็บไซต์สำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ เข้ามาเปิดหน้าร้านออนไลน์บนเว็บไซต์ตลาดกลาง เพื่อขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ


www.tips.ninenic.com
HOME เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา
Web hosting | website builder |เว็บไซต์สำเร็จรูป by ninenic ©Copyright 2002-2024 All rights reserved.
บริษัท อีคอมสยาม ดอทคอม จำกัด
82/8 หมู่ 6 ถ.ประชาราษฎร์
ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 029682665 Fax: 029683400
Email : info@ecomsiam.com